ประวัติกีฬาสควอช
สควอช เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเพียงประเภทเดียวที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายยืนอยู่ ข้างเดียวกันของเนตจุดนี้เองที่ทำให้สควอชมีเสน่ห์ ผนังโดยรอบทำให้การเล่นง่ายแม้กระทั่งสำหรับคนหัดใหม่ที่จะตีโต้ไปมาได้เป็น เวลานานๆ ซึ่งอาจจะแปลกสำหรับกีฬาที่กำลังเป็นที่นิยมที่สุดในยุคนี้ และสควอชเล่นได้ทั้งชายและหญิง ไม่จำกัดอายุ (รุ่นเยาว์ลดลงมาเหลือ 4 ขวบแล้ว) เล่นได้ในทุกสภาพอากาศ ไม่ว่าฝนจะตก หรือฟ้าจะมืด เด็กหรือผู้ใหญ่ เป็นการออกกำลังกายที่ดี ทำให้สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจสามารถปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล จะเล่นเร็วหรือช้า รุนแรงหรืออ่อนโยน แม้กระทั่งในการซ้อมด้วยตัวเอง ว่าจะเล่นลูกแบบไหน สิ่งที่ควรทำอย่างเดียวคือ ผู้เล่นทั้งสองควรมีฝีมือใกล้เคียงกัน และถึงแม้จะทำไม่ได้ ก็ยังสนุกได้หากผู้เล่นที่เก่งกว่าไม่ตีลูกที่รับยากเกินไปให้อีกฝ่าย
สำหรับคนที่เริ่มต้นหัดเล่น สควอชให้ผลทันตาคือผู้เล่นสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งกับคนที่ไม่มีประสบการณ์ในการเล่นบอลเลยก็ตาม ภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง ในคอร์ต ผู้เล่นหัดใหม่ทั้งสอง จะสามารถเรียนรู้และสนุกสนานกับการเล่นได้เอง ต่อมาหลังจากที่ผู้เล่นพัฒนาผีมือขึ้น เขาก็จะพบว่า บางครั้งเกมไม่ใช่ธรรมดาแค่นั้น ขณะที่ทุกอย่างดูเหมือนตรงไปตรงมา ผู้หัดเล่นใหม่อาจจะพบตนเองสับสนกับกีฬาสควอช ซึ่งกลายเป็นเกมและพลังกาย ต้องนำมาใช้ร่วมกับสมอง เขากำลังเล่นอยู่กับหมากรุกทางกายภาพ นั่นคือสงครามของกลเม็ดและความเร็วสูง โดยสรุปสควอชจสามารถเล่นให้ง่ายหรือยากก็ได้
สควอชเหมาะสำหรับชีวิตสมัยใหม่ที่บาง ครั้งดูเหมือนว่าวันๆ เวลาช่างสั้นเหลือเกิน ใช้เวลาแค่ชั่วโมงเดียวตั้งแต่เปลี่ยนเสื้อผ้า เล่น อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า และรับเครื่องดื่ม (ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับนี้เสมอไป) ไม่มีการเสียเวลาในการเก็บลูก
ผู้เล่นวัยเยาว์อาจพอใจที่จะเล่นสควอชเป็นส่วนเสริมกีฬากลางแจ้งอย่างอื่น ซึ่งก็นับว่าเหมาะที่สุด เพราะมันช่วยกระชับระบบต่างๆ การโต้ตอบ พัฒนาการทำงานให้ประสานกันระหว่างมือและตา และรวมไปถึงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ คนที่เล่นคริกเกต ฟุตบอล รักบี้หรือแม้กระทั้งเทนนิส คนไหนบอกว่าสควอชไม่มีประโยชน์สำหรับเขาล่ะก็ แสดงว่าคนๆ นั้นไม่เคยเล่นสควอช
การเล่นสควอช หากเล่นเข้ากันได้ดี บางครั้งก็ส่งเสียงดังบ้าง เวลาที่คนสองคนกำลังเล่นอยู่ในสนาม อาจส่งเสียงเหมือนกระสุนที่กำลังวิ่งเข้าเป้า ทำให้ผู้เล่นเกิดความรู้สึกที่เป็นมิตรต่อกันในลักษณะที่กีฬาน้อยชนิดนักจะ เปรียบได้
ในยุคสมัยก่อนที่ร้านค้าต่าง ๆ จะเกิดขึ้น เป็นยุคแห่งการเพาะปลูก หรือล่าสัตว์มาเป็นอาหาร ในยุคนั้นยังไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องคิดประดิษฐ์เกมต่างๆ ขึ้นมา แค่เอาชีวิตรอดไปวันๆ ก็วุ่นวายเพียงพอแล้ว แต่เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยนไป เกิดการพัฒนากีฬาขึ้นมา โดยเฉพาะการวิ่ง ต่อมาก็กีฬาที่เล่นกับลูกบอล เราเริ่มจากโยนลูกเข้าหากำแพงด้วยมือ เรียกว่า "ไฟฟ์" (มาจากนิ้วทั้งห้า) ซึ่งเป็นกีฬาที่ยังมีเล่นกันอยู่ที่วิทยาลัยวชิราวุธในกรุงเทพฯ ต่อมาก็มีการใช้แร็กเกตแบบต่างๆ ขึ้นมาแทนมือวิวัฒนาการเป็นเกมของแร็กเกตเรื่อยมา เกิดเป็นสควอช แร็กเกต กลายเป็นที่นิยมแพร่หลายกว่ากีฬาแม่แบบของมันขึ้นมา ในช่วงปี 2403-2413 ยังเล่นกันในคอร์ตที่ทำขึ้นอย่างไม่ถาวรจนกระทั่ง โรงเรียน Harrow ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดของสคอช คำว่าสควอชมาจากลักษณะลูกบอลที่นิ่ม และกลวง บางครั้งมีรู ซึ่งเมื่อตีกระทบกับกำแพงแล้วทำให้เกิดเสียง
ในปี 2426 คอร์ตแห่งแรกออกแบบสำหรับการเล่นสคอชสร้างขึ้นโดยชาย Harrow นายที่หนึ่งที่ Oxford ในปี 2429 สควอชเริ่มได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬาอิสระประเภทหนึ่ง ทศวรรษต่อๆ มา มีการสร้างคอร์ตในสถานที่ต่างๆ และที่ London Social Club ซึ่งยังประโยชน์ให้กับกีฬานี้มากในเวลาต่อมา สคอชเริ่มเติบโตขึ้น
สมาคมเทนนิสและแร็กเกต (ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2450) ขอชี้แจ้งว่า เทนนิสที่เล่นกัน จริงๆ ในสมัยนั้นเป็นกีฬาในร่ม ซึ่งต่างจากลอนเทนนิส ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่างกติกาการเล่นสควอชขึ้นในปี พ.ศ. 2454 มีการวงมาตรฐานขนาดของคอร์ตแต่ไม่ได้ปฏิบัติจริงจนหลังสงครามปี พ.ศ. 2457-2461 จะเห็นว่าคณะอนุกรรมการที่อังกฤษก็ทำงานกันอย่างสบายๆ เหมือนกับที่เราคุ้นเคยกันดีกับคณะอนุกรรมการทั้งหลายในกรุงเทพฯ
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง สมาคมระดับชาติในประเทศต่างๆ เริ่มก่อตัวขึ้น ที่สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2540 ที่แอฟริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2453 ที่แคนาดา ในปี พ.ศ 2454 สมาคมเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นก่อนสมาคมสควอชแร็กเกตในอังกฤษซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2472 และรับมอบหมายงานต่อจากสมาคมเทนนิสแร็กเกตในปีเดียวกันนั้นเอง
การก่อตั้งสมาคมสควอชแร็กเกต ทำให้กีฬาสคอชในอังกฤษเริ่มก้าวหน้า ช่วงปี พ.ศ.2473 เป็นยุคเฟื่องฟู การผลิตลูกที่กระดอนช้าทำให้เทคนิคการเล่นเพิ่มขึ้นและยากขึ้นสควอชคลับเกิด ขึ้นมากมายทุกหนแห่ง ปรากฏการณ์ที่เกิดซ้ำอีกครั้งใน 25 ปีให้หลัง โดยเฉพาะในออสเตรเลีย
การขยายตัวของสควอชหลังสงคราม ในช่วงปี พ.ศ.2493-2503 ทำให้เกิดความเป็นห่วงกันว่าการบริหารกีฬาประเภทนี้ในระดับนานาชาติควรทำ อย่างไร สมาคมในอังกฤษเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระดับนานาชาติเรื่อยมา ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปลี่ยน ในปี พ.ศ.2509 มีการประชุมหารือระดับนานาชาติและตกลงกันตั้ง International Squash Racket Federation ขึ้นมาเพื่อบริหาร กีฬาประเภทนี้มีประเทศผู้ก่อตั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อังกฤษ อินเดีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน แอฟริกาใต้ และอาหรับ ปัจจุบัน (ปลายปี พ.ศ. 2534) มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 60 ประเทศและ สมาคมในเครืออีก 19 แห่งในภูมิภาคต่างๆ
ในการประชุมที่เฮลซิงกิในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2534 ที่ประชุมตกลงกันว่าจะปรับโครงสร้างของสมาพันธ์นานาชาติเพื่อให้มีคุณสมบัติ ในการสมัครเอากีฬาชนิดนี้เข้าไปอยู่ในการแข่งขันโอลิมปิก ชื่อ ISRF ได้เปลี่ยนเป็น World Squash Federation และมีความพยายามที่จะให้ทุกประเทศที่มีการเล่นสควอชเข้าเป็นสมาชิก ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวครั้งนี้คือ ประธานคนปัจจุบันของสมาพันธ์ Y.A.M. Tungku lmran lbni Tuangku Ja'afar ชาวมาเลเซีย ซึ่งเคยมาเล่นที่เมืองไทยหลายครั้งแล้ว และเป็นที่รู้จักกันในนาม "Pete"
ชื่อ ที่ใช้เรียกอยู่ในปัจจุบัน ว่า Squash Rackets ในอนาคตจะเปลี่ยนให้เหลือเพียงสควอชคำเดียว เพื่อไม่ให้เกิดการสับสนกับกีฬาอีกชนิด คือ แร็กเกต
นอกจากนี้ ยังมีประเภทของสควอชเพิ่มขึ้นใหม่อีก 3 ชนิดเพื่อให้การเล่นสควอชง่ายขึ้นอีก ได้แก่ มินิสควอช (Mini-Squash) เล่นในคอร์ตปกติ ไมโครสควอช (Micro-Squash) เล่นในคอร์ตขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายได้ และฟันสควอช (Fun-Squash) ซึ่งเล่นที่ไหนก็ได้ที่มีกำแพง อันที่จริงก็คือการเล่นแบบดั้งเดิมที่เล่นเมื่อกว่า 130 ปี ก่อนนั่นเอง
ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
http://www.sat.or.th